6 ลักษณะของรอยร้าวบ้าน
1. รอยร้าวผนังแบบแตกลายงา รอยร้าวผนังพบได้บ่อยมากที่สุด บ้านใหม่ร้าว ปกติไหม ถ้าเป็นลักษณะนี้ไม่เป็นอันตราย ไม่ส่งผลต่อโครงสร้างภายใน แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะเมื่อเกิดฝนตก ผนังจะกักเก็บความชื้น ทำให้ผนังบวม เกิดปัญหาสีลอกร่อนและเชื้อราได้
2. รอยร้าวผนังแบบแนวทแยง หรือแบบเฉียงกลางผนัง ถ้าบ้านใหม่ร้าว ลักษณะนี้ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน เพราะอาจเกิดจากปัญหาฐานรากที่เกิดจากเสาบางต้นในบ้านมีการทรุดตัว ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีเหมือนเดิม ส่งผลให้ผนังแตกร้าวลงมา หรืออาจเกิดได้จากการต่อเติมบ้านใหม่ไม่ถูกวิธี ซึ่งเป็นอันตราย ควรรีบปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
3. รอยร้าวเฉียง ๆ ตามมุมขอบวงกบหน้าต่าง หรือบานประตู หากรอยร้าวไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สันนิษฐานเบื้องต้นว่าเกิดจากการยืดขยายของวงกบหน้าต่าง หรือบานประตู ที่อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นทำให้โครงสร้างภายในมีการขยายตัว แต่ถ้าอุณหภูมิลดลงก็ทำให้โครงสร้างมีการหดตัวได้ บ้านใหม่ร้าว ลักษณะนี้ถือว่าไม่รุนแรง สามารถซ่อมแซมได้เอง
4. รอยร้าวผนังแนวดิ่งกลางคาน เป็นสัญญาณเตือนของปัญหาโครงสร้างบ้าน เกิดได้จากการที่คานรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้หินหรืออิฐภายในผนังดันตัวจนเกิดเป็นรอยร้าว การคำนวณน้ำหนักโครงสร้างที่ผิดพลาด ทำให้บ้านรับน้ำหนักได้ต่ำกว่ามาตรฐาน บ้านใหม่ร้าว ลักษณะนี้เป็นอันตราย ควรเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญมาซ่อมแซมโดยด่วน และทำการย้ายของจากชั้นบนลงมาเพื่อเป็นการถ่ายเทน้ำหนักในเบื้องต้นก่อน
5. รอยร้าวแนวเฉียงที่หัวเสาไปจนถึงคาน พบได้ทั้งแบบแนวเฉียง หรือแนวดิ่ง โดยมักจะเกิดขึ้นกับปลายทั้งสองข้างของคาน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากคานไม่สามารถรับน้ำหนักได้ไหว หรือรับน้ำหนักมากเกินกว่าที่คำนวณไว้ ทำให้เสาและคานแยกตัวออกจากกัน บ้านใหม่ร้าว ลักษณะนี้อันตราย อาจทำให้บ้านทรุด ถล่มลงมาได้ ควรเรียกผู้เชี่ยวชาญเข้ามาแก้ไขโดยด่วน
6. รอยร้าวบนพื้น สังเกตรอยร้าวบนพื้นซึ่งอาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไป เป็นสัญญาณเตือนและอาการแสดงของปัญหาที่แตกต่างกัน เช่น พื้นแอ่นตัว คอนกรีตอาจมีการยืดและหดตัวตามสภาพภูมิอากาศ หากเป็นรอยร้าวลึกให้ระมัดระวังในเรื่องของการรั่วซึม เพราะอาจส่งผลต่อโครงสร้างของเหล็กภายในที่อาจก่อให้เกิดสนิม และแตกร้าวออกมาได้